ประเทศไทย: ประณามเหตุสังหารกำนันและเจ้าหน้าที่ในจังหวัดชายแดนใต้ สนับสนุนนโยบายสมช. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน สร้างโอกาสพัฒนา รองรับสมาคมอาเซียน 2557 

เราปรารถนาที่จะแบ่งปันแถลงการณ์ร่วมโดยมูลนิธิผสานวัฒนธรรมและกลุ่มด้วยใจ จังหวัดสงขลา เกี่ยวกับเหตุความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission)
ฮ่องกง

————-
แถลงการณ์ร่วมจากมุลนิธิผสานวัฒนธรรมและกลุ่มด้วยใจ จังหวัดสงขลา ส่งต่อโดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission: AHRC)

วันที่ 4 พฤษภาคม 2555

แถลงการณ์ร่วม

ประนามเหตุสังหารกํานันสายบุรีและเจ้าหน้าที่ฝายปกครอง รวม 4 คน
สนับสนุนนโยบายสมช. เรียกร้องรัฐบาลบูรณาการนโยบายจชต. ระหว่างองค์กรรัฐในพื้นที่
ส่งเสริมการมีส่วนรวมของประชาชน สร้างโอกาสพัฒนารองรับสมาคมอาเซียน ปีพ.ศ.  2557

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2555 บนถนนทางหลวงสาย 42 ระหว่าง นราธิวาส-ปัตตานี ม.6 บ้านบาโงมูลง ต.เตราะบอน อ.สายบุรี จ.ปัตตานี  ได้เกิดเหตุคนร้ายจํานวนมากกว่า 5 คน ยิง นายสังวรณ์ สุวรรณราช อายุ 57 ปี กํานันตําบลทุ่งคล้า อ.สายบุรี ,นายปรีชา ทองเอียด 48 ปี สารวัตรกํานัน, นางสุภาพร เจริญสุข อายุ 45 ปี ผู้ช่วยกํานัน และนางสาวพรทิพย์ โพธิ Bเงิน อายุ 43 ปี ผู้ช่วยกํานัน พร้อมทั้งได้นําอาวุธปืนและเงินจํานวนหนึ่งไปด้วย  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดมาได้สะท้อนถึงความรุนแรงและการไม่แสดงความรับผิดชอบในการกระทําของผู้กระทําว่ามีจุดมุ่งหมายใด เพียงการก่ออาชญกรรมมุ่งให้เกิดความสูญเสียทีมิอาจประเมินค่าได้ เหตุในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความล้มเหลวในการสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งปรากฎว่า รัฐไม่สามารถสืบสวนสอบสวนอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่นําคนผิดมาลงโทษ และไม่มีมาตราการป้องกันเหตุที่เหมาะสมเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงและปลอดภัยให้กับประชาชนและสังคมสาธารณะ เรียกร้องให้ทุกฝายสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) และบูรณาการนโยบายจังหวัดชายแดนใต้ระหว่างองค์กรรัฐในพื้นที่พร้อมทั้งส่งเสริมการมีส่วนรวมของประชาชน สร้างโอกาสพัฒนารองรับสมาคมอาเซียน ปีพ.ศ.2557

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและกลุ่มด้วยใจ จังหวัดสงขลา ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวผู้สูญเสียในทุกกรณี และขอประนามการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ ไม่ว่าการก่อเหตุดังกล่าวจะมีเหตุจูงใจจากการก่ออาชญากรรมหรือการก่อความไม่สงบที่นํามาสู่ความสูญเสียทั้งร่างกายและจิตใจ และทําลายคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ของเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน และทําลายบรรยากาศความพยายามของทุกฝ่ายในการจัดการปัญหาความขัดแย้งแบบสันติวิธี ความสับสนและความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่

จากเหตุการณ์รายวันที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี 2555 จนถึงปัจจุบัน พิจารณาได้ว่าสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ยิ่งเลวร้ายลง ผู้ได้รับผลกระทบประกอบไปด้วยประชาชนผู้นับถือศาสนาพุทธ มุสลิม ประชาชนผู้ทํางานให้กับราชการ หรือประชาชนที่ทำงานทั่วไป เจ้าหน้าที่ฝายความมั่นคงติดอาวุธ และไม่เว้นแม้แต่เด็ก สตรีและ คนชรา

อย่างไรก็ดี ทุกฝายต้องมีความหวังและให้โอกาสการแก้ไขปัญหาด้วยแนวทางสันติวิธี และยืนยันที่จะไม่ใช้ความรุนแรง และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการใช้ความรุนแรงใดใด รัฐบาลควรส่งเสริมการพูดคุยสาธารณะเรื่องรูปแบบการปกครองแบบพิเศษ การจัดตั้งสมัชชาประชาสังคมชายแดนใต้ การทํางานของภาคประชาสังคมในพื้นที่ ดังที่คณะรัฐมนตรีมีมติรับรองนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช) พ.ศ. 2555-2557 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555  ซึ่งสะท้อนให้เห็นโอกาสที่ประเทศไทยจะก้าวผ่านความขัดแย้งสู่สันติภาพที่จะส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้เพื่อรองรับการก้าวเข้าสู่สมาคมอาเซียนได้   หากทุกฝายเร่งปรับปรุงแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานในระดับนโยบายและระดับพื้นที่ให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาของสมช. ดังปรากฎเป็นนโยบายระดับชาติที่สำคัญ

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมและกลุ่มด้วยใจ จ.สงขลา ขอแสดงความเห็นต่อแนวทางการดําเนินการตามกรอบนโยบายของสมช. ให้สัมฤทธิ์ผลอย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

1.    ขอสนับสนุนแนวทางของรัฐบาลที่ได้ริเริ่มการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการในวันที่ 17 พฤษภาคม 2555 เพื่อบูรณาการนโยบายแผนงาน งบประมาณ และการปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานมีความสอดคล้องกับนโยบายการบริหารและแผนพัฒนาของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ปี 2555-2557 เพื่อให้ศูนย์อํานวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต) กองอํานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน) เป็นหน่วยปฏิบัติที่ทํางานสอดคล้องกันตามกรอบนโยบายของรัฐบาล

2.    ขอให้หน่วยงานรัฐทุกหน่วยในพื้นที่บูรณาการนโยบายดังกล่าวสําหรับการดําเนินการแผนงานของสมช.โดยทันที ทั้งมีแผนงานที่ให้ประชาชนในท้องถิ่นทุกกลุ่ม ทุกส่วน มีส่วนร่วมในการดําเนินการตามแผนงานของรัฐได้จริงตามแนวทางการส่งเสิรมการมีส่วนร่วมของประชาชน

3.    ขอให้ กอ.รมน. ปรับปรุงแผนและแนวทางในการปฏิบัติงานด้านความมั่นคงให้สอดคล้องกับแนวทางสันติภาพ โดยมีนโยบายและแนวทางลดจํานวนเจ้าหน้าที่ติดอาวุธตามลําดับ และนําไปสู่การยอมรับให้มีการยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและการใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้โดยเร็ว  เพื่อให้มีการนํากฎหมายปกติทีประกาศใช้ทั่วประเทศหรือการมีกฎหมายความมั่นคงในรูปแบบที่เหมาะสมกับสถานการณ์มากกว่ามาใช้  ทั้งนี้ พื้นที่ความขัดแย้งในประเทศไทยในจังหวัดชายแดนใต้ที่ยังคงมีการประกาศภาวะฉุกเฉินร้ายแรง และพื้นที่ภายใต้กฎอัยการศึก อาจเป็นอุปสรรคสําคัญในจํากัดโอกาสพัฒนาพื้นที่รองรับเขตเสรีเศรษฐกิจอาเซียน พ.ศ. 2557 ที่จะถึงนี้

4.    ขอเรียกร้องให้สมัชชาภาคประชาสังคมดําเนินการตรวจสอบแนวทางการนํานโยบายสมช. ไปปฏิบัติของหน่วยงานต่าง ๆเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ในการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นทั้งทุนทางสังคมและทุนทางเศรษฐกิจของชาวไทยพุทธ มุสลิม จีน เพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านการศึกษา การจัดสรรทรัพยากร และโอกาสการทํางานของคนในพื้นที่ เพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม สร้างความเป็นธรรมทางสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งนี้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของตนเองได้จริง

5.    ขอให้ศอบต. กําหนดแนวทางการเยียวยาในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อย่างทั่วถึง เท่าเทียม โดยมีกรอบการดําเนินการที่ปราศจากการเลือกปฏิบัติ และมุ่งเน้นการสร้างความสมานฉันท์ และการฟื้นฟูสภาพจิตใจ เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่ง จะฟื้นฟูความไว้วางใจระหว่างรัฐกับประชาชน

6.    ขอให้ศอบต. กําหนดแนวทางการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมต่อคดีความมั่นคงและแนวทางการปราบปรามผู้ก่อความไม่สงบ ให้มีกลไกคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในขณะเดียวกันสร้างความเชื่อมั่นว่า การใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมตามหลักนิติรัฐซึ่งจะฟื้นฟูความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม และทั้งต่อหน่วยงานด้านยุติธรรม ทั้งตํารวจ อัยการ ศาล รวมทั้งหน่วยงานความมั่นคงที่มีอํานาจหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายพิเศษหากยังมีการบังคับใช้

7.    ขอให้ทุกฝายปรับเปลี่ยนทัศนคติ วิธีคิดของทุกฝ่ายร่วมทั้งฝ่ายที่อ้างการใช้ความรุนแรงเรียกร้องความเป็นธรรม โดยขอให้ทุกฝ่ายยึดมั่น แนวทางสันติวิธี เปิดโอกาสให้การเจรจาทุกระดับและกับกลุ่มที่มีความเห็นต่างกับรัฐ ให้เกิดขึ้นโดยปราศจากการคุกคาม ข่มขู่ และการทบทวนและถอดถอนรายชื่อบุคคลที่มีหมายจับ ตามประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญาและตามพรก.ฉุกเฉินเพื่อให้เกิดความไว้วางใจอันและอาจเป็นการให้ความเชื่อมั่นกับผู้บริสุทธิ์ให้กลับบ้านหรือกลับเข้าสู่ การต่อสู้ทางการเมืองตามวิถีทางประชาธิปไตยและแนวสันติวิธี      และสร้างกลไกที่นําไปสู่ความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมเพื่อป้องกันการจับกุมผู้บริสุทธิ์ซึ่งจะกลายเป็นวงจรของความไม่เป็นธรรมที่ป็นเงื่อนไขในการใช้ความรุนแรงอย่างไม่สิ้นสุด

นโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช) อาจไม่สามารถยุติความรุนแรงได้ในทันทีทันใด แนวทางนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนรวมทั้งประชาชนในพื้นที่ที่ต้องเปิดใจและสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้นโยบายนําไปสู่การปฏิบัติได้จริง   รวมทั้งการที่ฝายความมั่นคงที่ต้องอดทนอดกลั่นต่อเหตุการณ์ความรุนแรงและความสูญเสียที่ยังเกิดขึ้นในระยะเวลาเปลี่ยนผ่านจากความขัดแย้งสู่สันติภาพ อันจะสร้างให้เกิดความปลอดภัยและความปกติสุขในพื้นที่โดยเร็ววัน 8 ปี ความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ นําไปสู่โอกาสในการสร้างสันติภาพในเวลาสามปี เพื่อสร้างโอกาสพัฒนารองรับสมาคมอาเซียนปีพ.ศ.2557 ได้จริง
——————-
ศึกษานโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 – 2557 ฉบับเผยแพร่ได้ที่http://www.deepsouthwatch.org/node/3019#en
——————-
ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติม:
– พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ  มูลนิธิผสานวัฒนธรรม โทร 086-7093000
– อัญชนา หะมิน๊ะ  กลุ่มด้วยใจ จ.สงขลา  โทร 081-8098609

# # #

เอเอชอาร์ซี: คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission: AHRC) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในระดับภูมิภาค ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในเอเชีย ออกเอกสารเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ และ สนับสนุนการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และสถาบันยุติธรรม เพื่อให้แน่ใจว่า สิทธิมนุษยชนได้รับการคุ้มครองและส่งเสริม สำนักงานตั้งอยู่ที่ฮ่องกง โดยก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2527

To support this case, please click here: SEND APPEAL LETTER

SAMPLE LETTER


Document Type : Forwarded Statement
Document ID : AHRC-FST-028-2012-TH
Countries : Thailand,