เรียนทุกท่าน
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission: AHRC) ปรารถนาส่งต่อจดหมายเปิดผนึกขององค์กรพัฒนาเอกชนและบุคคลในประเทศไทยและนานาชาติ ที่ส่งถึงนายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย
คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
ฮ่องกง
——-
AHRC-FOL-006-2012-TH
5 มิถุนายน 2555
จดหมายเปิดผนึกโดยองค์กรพัฒนาเอกชนและบุคคลในประเทศไทยและนานาชาติ ส่งต่อโดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission: AHRC)
ประเทศไทย: นักเคลื่อนไหวคนสำคัญ และผู้นำเกษตรกร อาจได้รับโทษจำคุก ในการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปนโยบายที่ดินครั้งสำคัญในไทย
จดหมายเปิดผนึก
ส่งด้วยมือ
ฯพณฯ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล
ถ.พิษณุโลก เขตดุสิต
กรุงเทพฯ 10300
31 พฤษภาคม 2555
นักเคลื่อนไหวคนสำคัญ และผู้นำเกษตรกร อาจได้รับโทษจำคุก ในการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปนโยบายที่ดินครั้งสำคัญในไทย
เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี
เรารู้สึกกังวลอย่างยิ่งกับการฟ้องร้องคดีที่เพิ่มขึ้นของรัฐไทยต่อพลเมืองของตนเอง ซึ่งได้รณรงค์เป็นเวลานาน อย่างเปิดเผย และเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อคุ้มครองสิทธิในที่ดินของคนยากจน และเพื่อผลักดันให้เกิดการปฏิรูปนโยบายที่ดินระดับชาติ
ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของประเทศไทยกำลังถูกคุกคามทั่วโลก เนื่องจากนานาชาติต่างให้ความสนใจต่อความอยุติธรรมเหล่านี้ คำตัดสินของศาลฎีกาที่จะมีต่อสมาชิก ที่เป็นแกนนำของขบวนการปฏิรูปที่ดินชุมชนที่จังหวัดลำพูน ในวันที่ 6 มิถุนายน 2555 เป็นสัญญาณที่สำคัญของการปฏิบัติของรัฐไทยต่อพลเมือง ซึ่งพยายามเรียกร้องให้ประชาชนทั้งประเทศสนใจต่อการปฏิรูปที่จำเป็น เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทในที่ดินที่ยืดเยื้อยาวนานของไทย ปฏิบัติการของพวกเขาไม่ควรนำไปสู่การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี หรือการคุกคามรูปแบบอื่น ๆ จากรัฐ
เรามีข้อสังเกตว่า ประเทศไทยได้เคยให้ความเห็นในระดับสากล เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปเกษตรกรรม รวมทั้งในระหว่างการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงระหว่างประเทศ ว่าด้วย การปฏิรูปเกษตรกรรมและการพัฒนาชนบท (International Conference on Agrarian Reform and Rural Development ) ที่ประเทศบราซิล เมื่อปี 2549 ปฏิญญาร่างสุดท้ายขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ที่มีการรับรองโดยสมาชิก 92 รัฐ รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเป็นการเน้นย้ำความสำคัญขั้นพื้นฐานของการปฏิรูปเกษตรกรรม เพื่อขจัดความหิวโหยและความยากจน และเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงที่ดิน น้ำ และทรัพยากรธรรมชาติอย่างอื่นในวงกว้าง อย่างมั่นคงและอย่างยั่งยืน
ยอมรับกันทั่วโลกว่า การปฏิรูปเกษตรกรรมเป็นเงื่อนไขจำเป็นเพื่อประกันสิทธิด้านอาหาร และพื้นฐานที่เป็นธรรมและเท่าเทียมมากขึ้นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน มีรายงานข่าวว่า ผู้รายงานพิเศษแห่งสหประชาชาติด้านสิทธิด้านอาหาร (United Nations Special Rapporteur on the Right to Food) ได้เน้นย้ำหลายครั้งว่า การประกันความมั่นคงในการเข้าถึงที่ดินของเกษตรกรรายย่อย และการปฏิรูปเกษตรกรรม เป็นองค์ประกอบสำคัญ เพื่อให้เกิดสิทธิด้านอาหาร ผู้ชำนาญการระหว่างประเทศหลายร้อยคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหน่วยงานประเมิน ความรู้ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ด้านเกษตรกรรมเพื่อการพัฒนา (International Assessment for Agricultural Knowledge, Science, and Technology for Development – IAASTD) ได้เน้นย้ำความสำคัญของภาคการผลิตรายย่อยในสังคม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ ส่งเสริมการเข้าถึงอาหาร การประกอบอาชีพ และสุขภาพ ส่งเสริมความเท่าเทียม และเป็นการยอมรับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรรายย่อยที่มีต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งไม่ได้สำคัญเฉพาะกับประเทศไทย แต่สำหรับโลกใบนี้
เราได้ทราบข้อมูลว่า ข้อพิพาทที่ดินในประเทศไทย ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการทุจริต และการตัดสินใจที่ไม่โปร่งใสในการจัดสรรและกำหนดเขตที่ดิน ทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน ข้อพิพาทในระยะยาวที่เป็นปัญหาเช่นนี้ ต้องได้รับการแก้ไขในลักษณะที่เป็นธรรมและมีส่วนร่วมอย่างไม่ชักช้า เพื่อช่วยให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามพันธกิจระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน การพัฒนาที่ยั่งยืน และธรรมาภิบาลได้
เครือข่ายปฏิรูปเกษตรกรรมแห่งประเทศไทยมีการจัดทำข้อเสนอที่สำคัญเพื่อการปฏิรูป ประกอบด้วย การจัดสรรที่ดินที่ถูกทิ้งร้างและไม่มีการใช้ประโยชน์ การสนับสนุนให้กลุ่มในชุมชนมีโฉนดที่ดิน การนำกลไกภาษีในอัตราก้าวหน้าและเป็นธรรม มาใช้ และการจัดตั้งกองทุนที่ดินระดับชาติเพื่อสนับสนุนการจัดสรรที่ดินให้กับคนยากจน เรามีข้อสังเกตว่า รัฐบาลได้ยอมรับข้อเสนอบางส่วนแล้ว แต่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดการปฏิรูปเหล่านี้ยังคงช้าเกินไป
แม้ว่า ประเทศไทยจะมีนโยบายปฏิรูปที่ดินระดับชาติมาแล้วกว่า 30 ปี แต่ประเด็นดังกล่าวได้กลายเป็นวาระสำคัญของชาติในช่วงสิบปีที่ผ่านมา เนื่องจากการผลักดันและการต่อสู้ของเกษตรกรที่มีรายได้น้อยและไร้ที่ดิน ขบวนการปฏิรูปที่ดินชุมชนเริ่มปฏิบัติการ ตั้งแต่ปี 2540 โดยการยึดครองที่ดินที่ถูกทิ้งร้าง และนำมาใช้ประโยชน์สำหรับชุมชนยากจนในหลายพื้นที่ของภาคเหนือ ที่ดินที่ถูกยึดครองเหล่านี้เริ่มมีการผลิตอย่างเต็มที่ ช่วยสร้างรายได้และอาหารให้กับเกษตรกรรายย่อย ครอบครัวและชุมชนของพวกเขา
มีการเผยแพร่ข้อมูลปฏิบัติการของขบวนการปฏิรูปที่ดินอย่างกว้างขวาง ตามสื่อมวลชนระดับชาติและนานาชาติ ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปนโยบายสาธารณะ โดยมีข้อเสนออย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับการถือครองที่ดินในรูปของโฉนดชุมชน ซึ่งเริ่มเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยและรัฐบาล โดยถือเป็นแม่แบบสำคัญเพื่อให้เกิดความมั่นคงในการถือครองที่ดินในระยะยาว หากไม่มีปฏิบัติการของขบวนการปฏิรูปที่ดินชุมชน การปฏิรูปกฎหมายที่สำคัญครั้งนี้ก็อาจไม่เกิดขึ้น
เป็นเรื่องน่าตกใจ ที่สมาชิกของขบวนการดังกล่าวอาจต้องถูกจำคุกเป็นเวลานาน อันเป็นผลมาจากการมีบทบาทในการจัดสรรที่ดิน การฟ้องร้องคดีเช่นนี้ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อสังคมไทย และการปราบปรามนักเคลื่อนไหวที่มุ่งมั่นสนับสนุนการปฏิรูปที่ก้าวหน้าและส่งเสริมประโยชน์สาธารณะ จะทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐไทยติดลบในสายตาชาวโลก
เราขอกระตุ้นให้รัฐบาลและรัฐไทย ยุติการฟ้องคดีต่อพลเมืองของตน ซึ่งร่วมรณรงค์ให้มีการปฏิรูปเกษตรกรรม และให้ความสำคัญเร่งด่วนต่อการปฏิรูปที่ดินด้วยการจัดสรรที่ดินอย่างเท่าเทียม และมีการแก้ปัญหาข้อพิพาทในที่ดินอย่างเป็นธรรมเพื่อประกันการดำรงชีพอย่างยั่งยืนสำหรับชุมชนเกษตรกรรายย่อยหลายแสนชุมชนทั่วประเทศ
ด้วยความนับถือและด้วยสมานฉันท์กับขบวนการปฏิรูปที่ดินประเทศไทย
เครือข่ายปฏิบัติการวิจัยที่ดิน (Land Research Action Network), นานาชาติ
Focus on the Global South, ไทย ฟิลิปปินส์ อินเดีย
ศูนย์ศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงชนบทแห่งเม็กซิโก (Center for the Study of
Rural Change in Mexico -CECCAM), เม็กซิโก
เครือข่ายเพื่อความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน บราซิล (Network for Social Justice
and Human Rights, Brazil), บราซิล
เวทีสนับสนุนเครือข่ายประมงปากีสถาน (Pakistan Fisherfolk Forum Support) ปากีสถาน โครงการปฏิบัติการป่าชายเลน เอเชีย (Mangrove Action Project, Asia) เอเชีย
Equitable Cambodia, กัมพูชา
Action Aid International Thailand, ไทย
ศูนย์ข้อมูลชุมชน (Community Resource Centre -CRC), เอเชีย
Inclusive Development International, สหรัฐอเมริกา
National Secretariat for Social Action-‐Justice and Peace (NASSA), ฟิลิปปินส์ ปฏิบัติการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลง (People’s Action for Change -PAC), กัมพูชา
มูลนิธิผู้หญิง, ไทย
เครือข่ายเพื่อความก้าวหน้าของผู้หญิง, ไทย
สหพันธ์เกษตรกรแห่งชาติเนปาล (Napal’s Peasants’ Federation), เนปาล
Bangladesh Krishok Federation [BKF], บังคลาเทศ
Bangladesh Kishani Sabha [BKS], บังคลาเทศ
ขบวนการเพื่อการปฏิรูปที่ดินและเกษตรกรรมแห่งชาติ (Movement for National
Land and Agricultural Reform), ศรีลังกา
Karnataka Rajya Raitha Sangha, Karnataka, อินเดีย
Bhartiya Kisan Union, อินเดีย
สมาคมเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวรัฐเกเรลา (Kerela Coconut Farmers Association,
Kerela), อินเดีย
คณะกรรมการประสานงานขบวนการเกษตรกรแห่งอินเดียใต้ (South Indian
Coordination Committee of Farmers Movements), อินเดีย
CRBM/Re:Common, อิตาลี
Bangladesh Adivasi Samity, บังคลาเทศ
สมาคมอนุรักษ์สัตว์น้ำและประมงแห่งยูกันดา (Uganda Fisheries and Fish
Conservation Association – UFFCA), ยูกันดา
GRAIN, นานาชาติ
Mekong Watch, ญี่ปุ่น
Pacific Environment, สหรัฐอเมริกา
โครงการปฏิบัติการป่าชายเลนสากล (Mangrove Action Project, International), สหรัฐอเมริกา World Rainforest Movement (WRM), อุรุกวัย
Sintesa, อินโดนีเซีย
Daulat Institute, อินโดนีเซีย
Yayasan Biduk Alam (YBA), อินโดนีเซีย
Transnational Institute, นานาชาติ
มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน, ไทย
สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.), ไทย
มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ, ไทย
มูลนิธิชีววิถี, ไทย
กลุ่มปฏิบัติการเพื่อสภาพภูมิอากาศประเทศไทย, ไทย
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเขาบรรทัด, ไทย
สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้, ไทย
สหกรณ์บ้านคลองโยน, ไทย
เครือข่ายปฏิรูปที่ดิน, ไทย
Local Action Links, ไทย
ศูนย์เพื่อการคุ้มครองและฟื้นฟูสิทธิชุมชนท้องถิ่น, ไทย
Foundation of Reclaiming Rural Agric. & Food sovereignty Action, ไทย
กลุ่มเพื่อนประชาชน, ไทย
Collaborative Management Learning Network, ไทย
Social Action for Change (SAC), กัมพูชา
เครือข่ายผู้หญิงเพื่อเอกภาพ (Women’s Network for Unity – WNU) Cambodia, กัมพูชา
คณะทำงานวาระทางสังคม, ไทย
ศูนย์ข้อมูลกรรมกร (Worker Information Center), กัมพูชา
Church Land Programme, แอฟริกาใต้
Save Agrarian Reform Alliance, ฟิลิปปินส์
Aniban ng mga Manggagawa sa Agrikultura, ฟิลิปปินส์
Kilusang Magbubukid ng Bondoc Peninsula (KMBP), ฟิลิปปินส์
Ugnayan ng mga Magsasaka sa Gitnang Quezon (UGNAYAN), ฟิลิปปินส์
Quezon Association for Rural Development & Democratization Services, ฟิลิปปินส์ KATARUNGAN (ขบวนการเพื่อการปฏิรูปเกษตรกรรมและความยุติธรรม), ฟิลิปปินส์
Alliance of Progressive Labour, ฟิลิปปินส์
Kilusang Mangingisda, ฟิลิปปินส์
Freedom from Debt Coalition, ฟิลิปปินส์
Serikat Petani อินโดนีเซีย
Koalisi Anti Utang, อินโดนีเซีย
NOUMINREN, ญี่ปุ่น
MOKATIL, ติมอร์เลสเต
Migrant Forum in Asia, เอเชีย
Jubilee South- Asia Pacific Movement on Debt and Development, เอเชียแปซิฟิก
La Via Campesina, นานาชาติ
FIAN International, เยอรมัน
Arbeitsgemeinschaft Regenwald und Artenschutz, เยอรมัน
ATTAC ญี่ปุ่น
PARAGOS, ฟิลิปปินส์
Samahan ng mga Magsasaka ng Barangay Macabud, Rodriguez, Rizal, ฟิลิปปินส์
Negros Farmers’ Council, ฟิลิปปินส์
Makabayan Pilipinas, ฟิลิปปินส์
บุคคล
Prof Sam Moyo, African Institute for Agrarian Studies (AIAS), ซิมบับเว
Prof. Diane Elson, Emeritus Professor, University of Essex, สหราชอาณาจักร
Dr Radhika Balakrishnan, Professor, Women’s and Gender Studies, Rutgers University, New Jersey, สหรัฐอเมริกา
Raj Patel, Visiting Scholar, Center for African Studies, University of California at Berkeley, สหรัฐอเมริกา
Prof. Philip McMichael, นานาชาติ Professor, Department of Development Sociology, Cornell University, สหรัฐอเมริกา
Dr Eduardo C. Tadem, Professor of Asian Studies, University of the Philippines Diliman, ฟิลิปปินส์
Dr Teresa S. Encarnacion Tadem, Professor of Political Science, University of the Philippines Diliman, ฟิลิปปินส์
Jenny Birchall, Institute of Development Studies, University of Sussex, สหราชอาณาจักร
Dr. Carl Middleton, อาจารย์สาขาการพัฒนาระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ไทย
Dr Jennifer Franco, Adjunct Professor, College of Humanities and Development Studies, China Agricultural University, Beijing, จีน
Wittaya Abhorn, คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, ไทย
Walden Bello, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ฟิลิปปินส์
Charles Santiago, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร Klang
Bishop. Broderick Pabillo, Catholics Bishop Conference of the Philippines ฟิลิปปินส์
Sally Low, PhD candidate, University of Melbourne ออสเตรเลีย
Vanessa Lamb, York University, แคนาดา
Richard L Hackman, แคนาดา
Anne-‐Sophie Gindroz, Helvetas ลาว
Randall Arnst, สหรัฐอเมริกา John Dillon, แคนาดา
Nick Hildyard, The Corner House, UK Larry Lohmann, The Corner House, สหราชอาณาจักร
Nusaji Tawiwongse, ไทย
นิติรัตน์ ทรัพย์สมบูรณ์, คณะกรรมการสมานฉันทแรงงานไทย (คสรท.), ไทย
จิตติมา ผลสเวก , ศิลปิน, ไทย
Jeremy Ironside, นิวซีแลนด์
Wilson Tiu, Employer-‐Labor Social Partner Inc., ฟิลิปปินส์
Susuma Susuma, Mtandao wa Vikundi vya Wakulima Tanzania (MVIWATA) แทนซาเนีย
Kamuturaki Seremos Coordinator, Luwero Family Farmers and Food Distribution Association (LAFOOD)
Peter Chowla, สหราชอาณาจักร
Paula Cardoso, Trust for Community Outreach and Education, แอฟริกาใต้
Chris Lang, Jakarta, อินโดนีเซีย
Hanna Helena Saarinen, Finland Nishan Disanayake, Sydney, Australia Shannon L Alexander, สหรัฐอเมริกา
# # #
เกี่ยวกับเอเอชอาร์ซี: คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission: AHRC) เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในระดับภูมิภาค ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนในเอเชีย ออกเอกสารเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิ และ สนับสนุนการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และสถาบันยุติธรรม เพื่อให้แน่ใจว่า สิทธิมนุษยชนได้รับการคุ้มครองและส่งเสริม สำนักงานตั้งอยู่ที่ฮ่องกง โดยก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2527