ประเทศไทย: ศาลพิพากษาให้สองเยาวชนได้รับเงิน คนละหนึ่งแสนบาท เหตุโดนทหารทาร้ายระหว่างตรวจค้น 

เรียน ทุกท่าน

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission: AHRC) ปรารถนาที่จะส่งต่อแถลงข่าวจาก มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Culture Foundation: CrCF) และมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (Muslim Attorney Centre Foundation: MAC) ต่อท่านตามที่เอกสารข้างล่างนี้

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
ฮ่องกง

————-

แถลงข่าวจาก มูลนิธิผสานวัฒนธรรม (Cross Culture Foundation: CrCF) และมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม (Muslim Attorney Centre Foundation: MAC) ส่งต่อโดยคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission: AHRC)

เผยแพร่วันที่ 16 สิงหาคม 2555

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2555 ศาลปกครองสงขลาได้มีคำพิพากษาให้สานักนายกรัฐมนตรี ในฐานะต้นสังกัดของ กอ.รมน. ภาค 4 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน แก่ นายมะเซาฟี แขวงบู อายุ 20 ปี และเด็กชายอาดิล สาแม อายุ 14 ปี สองเยาวชนที่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย เนื่องจากถูกเจ้าหน้าที่ทหารทำร้ายร่างกายในระหว่างการลาดตระเวนและตรวจค้นตัว โดยใช้อานาจตามกฎอัยการศึก เหตุเกิดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 52 บริเวณถนนริมแม่น้ำปัตตานี ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ศาลได้พิพากษาว่า แม้กฎอัยการศึกจะให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารในการตรวจค้นบุคคลและยานพาหนะ แต่ในระหว่างตรวจค้นได้มีการทำร้ายเยาวชนทั้งสองจนได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นการกระทำละเมิด เมื่อเป็นเจ้าหน้าที่ทหารในสังกัดของ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรีจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางละเมิดให้ นายมะเซาฟี แขวงบู เป็นค่าขาดแรงงานในครัวเรือนและประโยชน์จากการทำงาน ตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในจังหวัดยะลา วันละ 250 บาท และแพทย์มีความเห็นให้หยุดพัก 5 วัน จึงคิดค่าเสียหายในส่วนนี้เป็นเงิน 1,200 บาท ส่วนเด็กชายอาดิล สาแม กำลังศึกษาอยู่ จึงไม่มีค่าเสียหายในส่วนนี้ และค่าเยียวยาความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพในร่างกาย อนามัย และจิตใจ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารได้กระทำการที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในร่างกายและจิตใจของบุคคลทั้งสอง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ม. 32 อันเป็นกฎหมายสูงสุดที่ประกันสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย และศาลมีอำนาจกาหนดค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ เพื่อเยียวยาความเสียหายตาม ว.5 จึงกาหนดให้คนละ 100,000 บาท

เหตุคดีนี้ เกิดเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 52 เจ้าหน้าที่ทหารได้ทำร้ายร่างกาย นายมะเซาฟี และ ด.ช.อาดิล โดยการเตะ ตบ ใช้ด้ามปืนตีที่ศีรษะ และตบที่กกหู และท้ายทอย จนทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ โดยต่อมา พนักงานอัยการศาลจังหวัดทหารบกปัตตานีได้ยื่นฟ้องเจ้าหน้าที่ทหารดังกล่าวเป็นคดีอาญา ข้อหาทำร้ายร่างกายจนทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ และวันที่ 26 เม.ย. 53 จำเลยให้การรับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา ศาลจังหวัดทหารบกปัตตานี ได้มีคำพิพากษาจำคุกจำเลย 6 เดือน ปรับ 2,000 บาท จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน และมีความประพฤติดี โทษจำคุกจึงให้รอการลงโทษ 2 ปี ให้บังคับโทษปรับ คดีอาญาดังกล่าวเป็นอันถึงที่สุด และนำมาสู่การฟ้องเรียกค่าเสียหายทางละเมิดในคดีนี้

หมายเหตุ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
มาตรา 32
 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย
การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทามิได้แต่การลงโทษตามคาพิพากษาของศาลหรือตามที่กฎหมายบัญญัติไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้
การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทามิได้ เว้นแต่มีคาสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
การค้นตัวบุคคลหรือการกระทาใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทามิได้เว้นแต่มีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติ
ในกรณีที่มีการกระทาซึ่งกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง ผู้เสียหาย พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย มีสิทธิร้องต่อศาลเพื่อให้สั่งระงับหรือเพิกถอนการกระทาเช่นว่านั้น รวมทั้งจะกาหนดวิธีการตามสมควรหรือการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วยก็ได้

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
นางสาวภาวิณี ชุมศรี +66 83 189 6598

To support this case, please click here: SEND APPEAL LETTER

SAMPLE LETTER


Document Type : Forwarded Press Release
Document ID : AHRC-FPR-039-2012-TH
Countries : Thailand,
Issues : Corruption,