ประเทศไทย / พม่า: กรณี การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนใน คดีเกาะเต่า

แถลงการณ์

ขอ ให้ยุติการกระทำที่ละเมิดสิทธิของครอบครัวผู้ เสียหายและผู้ต้องหา

กรณี การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่และสื่อมวลชนใน คดีเกาะเต่า

จาก กรณีเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2557 เกิด เหตุสองนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษถูกทำร้ายและเสีย ชีวิตอยู่ริมชายหาดเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาในวันที่ 2 ตุลาคม 2557 เจ้า หน้าที่ตำรวจได้ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยเป็นแรงงาน ชาวพม่าจำนวน 3 ราย โดยจากการสอบสวนเพิ่มเติมของพนักงานสอบสวนทำผู้ ต้องหาให้การรับสารภาพว่ากระทำความผิดตามข้อกล่าว หา และในวันที่ 3 ตุลาคม 2557 เจ้า พนักงานสอบสวนได้นำตัวผู้ต้องหา 2 รายไปแถลงข่าวและทำแผนประกอบคำรับสารภาพในที่เกิดเหตุ ปรากฏตามรายงานข่าวของสื่อมวลชนไปแล้วนั้น

เนื่องจากคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างชั้นสอบสวน ผู้ต้องหาต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้ บริสุทธิ์จนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด ดังนั้นการปฏิบัติต่อผู้ต้องหาจะกระทำเหมือนผู้ กระทำความผิดแล้วไม่ได้ สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรข้างท้ายมีความห่วงใยว่าการปฏิบัติ หน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องและ สื่อมวลชนอาจเป็นการละเมิดสิทธิในความเป็นส่วนตัว ของครอบครัวผู้เสียหายและละเมิดสิทธิของผู้ต้องหา ตามหลักการดังต่อไปนี้

1. การ ให้การในคดีที่มีโทษประหารชีวิต หากผู้ต้องหาไม่มีทนายความ พนักงานสอบสวนมีหน้าที่ตามกฎหมายในการจัดหาทนายความให้ผู้ต้องหาตามมาตรา 134/1 ประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและกติกา ระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางการเมืองและสิทธิ พลเมือง ข้อ 14 หากพนักงานสอบสวนไม่จัดหาทนายความ คำให้การดังกล่าวก็ไม่สามารถนำมารับฟังเป็นพยาน หลักฐานได้

2. ใน การให้การต่อเจ้าพนักงาน หากมีการข่มขู่ หรือทำร้ายร่างกายเพื่อให้ได้มาซึ่งคำรับสารภาพ คำให้การที่ได้มานั้นไม่อาจรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย และเจ้าพนักงานผู้กระทำการดังกล่าวย่อมมีความความ ผิดตามกฎหมาย และ ถือเป็นการละเมิดพันธกรณีตามอนุสัญญา ต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่น ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี

3. การนำ ตัวผู้ต้องหาไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพในที่เกิด เหตุ แม้พนักงานสอบสวนจะกระทำเพื่อการรวบรวมพยานหลักฐาน แต่ควรมีเป้าหมายว่าจะรวบรวมพยานหลักฐานอย่างไร มิใช่การนำผู้ต้องหาไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพเพื่อ การแถลงข่าว เพราะถึงคดีดังกล่าวจะเป็นที่สนใจของสาธารณชนแต่เจ้าหน้าที่ยังคงต้องเคารพ ความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในชื่อเสียงของผู้ต้องหา อีกทั้งตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 855/2548 ยังระบุว่าห้ามจัดให้สื่อมวลชนทุกแขนงเข้าทำข่าว ขณะ เมื่อมีการให้ผู้ต้องหานำพนักงานสอบสวนไปชี้ที่ เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพ และ หลีกเลี่ยงการให้สัมภาษณ์ใด ๆ ใน ลักษณะเป็นการโต้ตอบระหว่างพนักงานสอบสวนกับผู้ ต้องหา หรือ บุคคลใด โดย มีสื่อมวลชนทุกแขนงเป็นผู้สัมภาษณ์เนื่องจากอาจ เป็นเหตุให้รูปคดีเสียหายอีกด้วย

4. การนำ เสนอภาพข่าวหรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์รวม ถึงบทสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่รัฐและบุคคลทั้งที่ เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องในคดี ออกสู่สาธารณะเป็นจำนวนมากโดยในการนำเสนอข่าว ในบางสำนักข่าวมีการนำเสนอภาพข่าวหรือข้อเท็จจริง เกี่ยวกับเหตุการณ์ ซึ่งการนำข้อมูลของผู้ตายและภาพข่าวมาเผยแพร่ซ้ำ ย่อมเป็นการตอกย้ำถึงเหตุการณ์เลวร้ายที่กระทบ กระเทือนต่อครอบครัวของผู้เสียหายอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ ต้องหา รวมถึงอาจส่งผลต่อรูปคดี อาทิเช่น การสัมภาษณ์ล่ามถึงรายละเอียดคำให้การซึ่งต้องมีจรรยาบรรณในการรักษาความลับ การให้สัมภาษณ์กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติซึ่ง มีหน้าที่ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือ ไม่ ไม่ใช่การให้สัมภาษณ์เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงในคดี

สมาคม นักกฎหมายสิทธิมนุษยชนและองค์กรดังมีรายนามข้าง ท้ายจึงขอเรียกร้องให้

1. การ ให้สัมภาษณ์ของบุคคลทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่ เกี่ยวข้องในคดี ต้องตระหนักถึงบทบาทของตนในคดี จรรยาบรรณในการรักษาความลับของคดีในชั้นสอบสวน และเกียรติยศชื่อเสียงของผู้เสียหาย

2. การนำ เสนอข้อมูลของสื่อมวลชนควรให้ความระมัดระวังใน การนำเสนอ อีกทั้งพึงเคารพสิทธิส่วนบุคคลและไม่ละเมิดสร้าง ความเสียหายให้แก่ครอบครัวผู้เสียหายและผู้ต้องหา โดยคำนึงเสมอว่าข้อเท็จจริงที่ปรากฏจากการนำเสนอ ข่าวอาจส่งผลให้ผู้ที่รับรู้ข่าวตัดสินว่าผู้นั้น คือผู้ที่กระทำความผิด หากภายหลังผลปรากฏว่าผู้นั้นไม่ได้ความผิดตามข้อ กล่าวหา การเยียวยาความเสียหายแก่ผู้ต้องสงสัยจะเป็นไปได้ยาก รวมทั้งขอให้องค์กรวิชาชีพสื่อทำหน้าที่ในการตรวจ สอบการทำงานซึ่งกันและกันอย่างเคร่งครัด

ด้วย ความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน

สมาคม นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

สมาคม สิทธิเสรีภาพของประชาชน

Document Type : Forwarded Statement
Document ID : AHRC-FST-079-2014-TH
Countries : Burma (Myanmar), Thailand,
Issues : Extrajudicial killings, Judicial system, Migrant workers, Rule of law, Torture,