ประเทศไทย: ขอให้รัฐบาลไทย ให้สัตยาบัน ในอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วย การคุ้มครองบุคคลทุกคน จากการถูกบังคับให้สูญหาย โดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ ที่มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้ 

เรียนทุกท่าน

เราปรารถนาจะส่งต่อแถลงกาณ์จาก มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ (Justice for Peace Foundation: JPF)

คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย
ฮ่องกง

————-
เพื่อการเผยแพร่ทันที
AHRC-FST-102-2010-TH
23 ธันวาคม 2553

แถลงการณ์จาก มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ (Justice for Peace Foundation: JPF) ส่งต่อโดย คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asian Human Rights Commission)

ประเทศไทย: ขอให้รัฐบาลไทย ให้สัตยาบัน ในอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วย การคุ้มครองบุคคลทุกคน จากการถูกบังคับให้สูญหาย โดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ ที่มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้

ที่ 009/2553 วันที่ 23 ธันวาคม 2553

แถลงการณ์:
ขอให้รัฐบาลไทย ให้สัตยาบัน ในอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วย การคุ้มครองบุคคลทุกคน จากการถูกบังคับให้สูญหาย โดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ ที่มีผลบังคับใช้แล้ววันนี้

กรุงเทพฯ -วันนี้ (23 ธันวาคม 2553) เป็นวันที่ อนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วย การคุ้มครองบุคคลทุกคน จากการถูกบังคับให้สูญหาย โดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ (The Convention for Protection of all Persons from Enforced Disappearance) มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ หลังจากประเทศอิรัก ได้ให้สัตยาบันเป็นประเทศที่ 20 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2553

อนุสัญญาฯฉบับนี้ ได้รับการรับรองในทางสากลจากองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี 2549 เพื่อยกระดับให้การบังคับบุคคลสูญหายเป็น “อาชญากรรมร้ายแรงที่คุกคามมนุษยชาติ” เช่นเดียวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งได้ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อทั้งตัวเหยื่อ ครอบครัว และสังคม รวมทั้ง ยังนำมาซึ่งการต้องสูญเสียสิทธิมนุษยชนในอีกหลายด้านพร้อมกัน

นางนาวี พิลไลย ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า “อนุสัญญาฯ ฉบับนี้ ถือเป็นก้าวสาคัญ ในการเติมเต็มช่องว่างทางกฎหมาย ในการต่อสู้กับการบังคับบุคคลสูญหาย ซึ่งนับว่า เป็นอาชญากรรมร้ายแรง ที่เกิดขึ้น ในระดับนานาชาติ อนุสัญญาฯฉบับใหม่ ก่อให้เกิดกรอบการปฏิบัติสากลที่ชัดเจน ในการยุติการงดเว้นโทษ ส่งเสริมการเข้าถึงความเป็นธรรม และ สร้างความหวังในการยับยั้งผลกระทบทั้งหลายที่เกิดขึ้น อีกทั้ง ยังสนับสนุนความพยายามของบรรดาญาติมิตรของเหยื่อ ในการแสวงหาความจริง ว่า เกิดอะไรขึ้นกับผู้เป็นที่รักของตน ความเจ็บปวดจากการไม่รู้สถานะของผู้สูญหาย ว่า ยังมีชีวิตอยู่หรือไม่ ถือเป็นความเจ็บปวดอย่างที่สุด และนับเป็นรูปแบบหนึ่งของการทรมาน”

นางนาวี ยังกล่าวต่อไปว่า “ทั้ง 45 มาตรา ของอนุสัญญาฯ เน้นถึงการไร้ซึ่งข้อยกเว้นด้านสถานการณ์ต่างๆ อาทิ สถานการณ์สงคราม ความไร้เสถียรภาพทั้งหลาย อันอาจนำมาใช้อ้างความชอบธรรมของการบังคับบุคคลสูญหายทางการเมือง หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน”

ในประเทศไทย ปัจจุบันมีกรณีบุคคลสูญหาย ที่คณะทำงานด้านการบังคับสูญหายโดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ(UN WGEID) รับเป็นคดีคนหายของสหประชาชาติแล้วทั้งสิ้น 52 คดี แต่พบว่าทุกคดีไม่มีความก้าวหน้าในทางคดี

“อุปสรรคสำคัญ ในการเข้าถึงความยุติธรรมของครอบครัวคนหาย คือ การไม่มีกฎหมายซึ่งกำหนดให้ การบังคับให้บุคคลสูญหายเป็นอาชญากรรม อีกทั้ง เมื่อผู้กระทำผิดเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ครอบครัวมักถูกคุกคามจนไม่สามารถเรียกร้องความยุติธรรมได้ การแก้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยการบังคับให้บุคคลสูญหาย จากการกระทาของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงเป็นการท้าทายอย่างยิ่งต่อรัฐบาลไทยในการให้ความคุ้มครองบุคคลจากอาชญากรรมต่อเนื่องนี้ อีกทั้ง ยังท้าทายความจริงใจ ของกระบวนการยุติธรรมไทย ในการให้ความเป็นธรรม แก่บุคคลทุกคน ว่า แท้จริงแล้ว กระบวนการยุติธรรมไทย จะยังเป็นที่พึ่งของประชาชนได้หรือไม่” – นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพกล่าว

ในโอกาสที่ อนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วย การคุ้มครองบุคคลทุกคน จากการถูกบังคับให้สูญหาย โดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ (The Convention for Protection of all Persons from Enforced Disappearance) มีผลบังคับใช้ในทางสากล มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ จึงมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย ดังนี้

1. ขอให้รัฐบาลไทย ให้สัตยาบัน ในอนุสัญญาระหว่างประเทศ ว่าด้วย การคุ้มครองบุคคลทุกคน จากการถูกบังคับให้สูญหาย โดยไม่สมัครใจ ขององค์การสหประชาชาติ โดยเร็ว เพื่อให้ความคุ้มครองแก่บุคคลทุกคน ในการที่จะไม่ถูกทำให้สูญหาย ในท่ามกลางสถานการณ์ฉุกเฉิน การปราบปรามการก่อการร้าย นโยบายต่อต้านยาเสติด หรือ ความขัดแย้งทางการเมือง

2. รัฐบาลต้องให้มีกฎหมายภายในประเทศ เพื่อให้การบังคับบุคคลสูญหายเป็นอาชญากรรม มีการกำหนดโทษผู้กระทำผิด และให้มีการคุ้มครองพยานอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ให้มีการเยียวยาแก่ครอบครัว ซี่งครอบคลุมถึงสิทธิที่จะทราบความจริง ความคืบหน้า และผลของการสอบสวน ถึงชะตากรรม หรือ ที่อยู่ของผู้สูญหาย ในทุกขั้นตอน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการรักษาชีวิตของบุคคล ทั้งปัจจุบัน และอนาคต อีกทั้ง เพื่อเป็นการพิสูจน์ ว่า บุคคลทุกคนเสมอภาคกันอย่างแท้จริงในกฎหมาย
……………………………

ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ:
–    อังคณา นีละไพจิตร ประธาน โทร.: +66 84 728-0350
–    อรชพร นิมิตกุลพร โทร.: +81 941-4122
–    อีเมลล์: info@wgjp.com

#  #  #

เกี่ยวกับเอเอชอาร์ซี (AHRC): คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนในระดับภูมิภาค ที่ทำงานในการตรวจสอบ และเรียกร้องรณรงณ์ ด้านสิทธิมนุษยชนในเอเชีย โดยตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2527 ที่ฮ่องกง

To support this case, please click here: SEND APPEAL LETTER

SAMPLE LETTER


Document Type : Forwarded Statement
Document ID : AHRC-FST-102-2010-TH
Countries : Thailand,
Issues : Enforced disappearances and abductions,